youliek

 

ฟุตบอลหรือซอกเกอร์เป็นกีฬาประเภททีมที่เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น11คน โดยใช้ลูกฟุตบอลเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก[1][2][3]

โดยจะเล่นในสนามหญ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสนามหญ้าเทียมโดยมีประตูอยู่กึ่งกลางที่ปลายสนามทั้งสองฝั่ง เป้าหมายคือทำคะแนนโดยพาลูกฟุตบอลให้เข้าไปยังประตูของฝ่ายตรงข้าม ในการเล่นทั่วไปผู้รักษาประตูจะเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่สามารถใช้มือหรือแขนกับลูกฟุตบอลได้ ส่วนผู้เล่นอื่นๆจะใช้เท้าในการเตะลูกฟุตบอลไปยังตำแหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจใช้ลำตัวหรือ ศีรษะ เพื่อสกัดลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่กลางอากาศ โดยทีมที่พาลูกฟุตบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเท่ากันให้ถือว่าเสมอ แต่ในบางเกมที่เสมอกันในช่วงเวลาปกติแล้วต้องการหาผู้ชนะจึงต้องมีการต่อเวลาพิเศษและ/หรือยิงลูกโทษขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของรายการแข่งขันนั้นๆ

โดยกฎกติกาการเล่นสมัยใหม่จะถูกรวบรวมขึ้นในประเทศอังกฤษโดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษในปีพ.ศ. 2406 ได้กำเนิดLaws of the Gameเพื่อเป็นแนวทางกติกาการเล่นในปัจจุบัน ฟุตบอลในระดับนานาชาติจะถูกวางระเบียบโดยฟีฟ่าซึ่งรายการแข่งขันที่มีเกียรติสูงสุดในระดับนานาชาติคือการแข่งขันฟุตบอลโลกซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี[4]

เนื้อหา

 [แสดง

[แก้]กติกาการเล่นฟุตบอล

ในฟุตบอลมีกติกาสากลทั้งหมด 17 ข้อหลักที่มีการใช้ในฟุตบอลทั่วโลก โดยกติกาอาจมีการดัดแปลงบ้างสำหรับฟุตบอลเด็ก และฟุตบอลหญิง

[แก้]ผู้เล่น อุปกรณ์ และกรรมการ

ในแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นสูงสุด 11 คนที่สามารถลงเล่นในสนาม โดยสามารถมีผู้เล่นสำรองสามารถนั่งเพื่อรอเปลี่ยนตัว โดยในสิบเอ็ดคนนั้นจะต้องมีผู้รักษาประตูหนึ่งคน ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการจะมีกติกาเพิ่มว่าจะต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 7 คน(ในกรณีที่ผู้เล่นโดนใบแดง) เพื่อทำการแข่งขันได้ โดยผู้เล่นทุกคนยกเว้นผู้รักษาประตู ไม่สามารถใช้มือหรือแขนสัมผัสลูกฟุตบอลได้(แต่จะสามารถใช้ส่วนอื่นยกเว้นมือแขนเพราะจะFouls ทันทีเมื่อกรรมการเห็น)

อุปกรณ์หลักในการเล่นฟุตบอล โดยลูกฟุตบอลจะต้องมีขนาดที่ได้มาตรฐานเป็นทรงกลมมีขนาดเส้นรอบวงไม่เกิน 27-28 นิ้ว และน้ำหนัก 396 – 453 กรัม ผู้เล่นต้องมีการใส่ชุดที่ประกอบไปด้วย เสื้อ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า และสนับแข้ง โดยต้องไม่ใส่เครื่องประดับที่อาจเป็นอันตรายได้ไม่ว่าอัญมณีหรือนาฬิกาและผู้รักษาประตูต้องใส่ชุดที่แตกต่างจากผู้เล่นผู้อื่น และแตกต่างจากกรรมการเช่นกัน[5]จากฟีฟ่า

ระหว่างการเล่น ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนตัวกับตัวสำรองได้โดยในการแข่งขันทั่วไปสามารถเปลี่ยนตัวในแต่ละนัดการแข่งขันได้ไม่เกิน 3 ครั้ง โดยสาเหตุในการเปลี่ยนตัวอาจเกิดจาก การบาดเจ็บ ความเหนื่อยล้า หรือเปลี่ยนแผนการเล่น โดยผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวออกแล้วไม่สามารถเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้อีกในนัดนั้น

กรรมการจะเป็นบุคคลที่มีหน้าที่ตัดสินผลการแข่งขัน รวมถึงควบคุมและจับเวลาการแข่งขัน โดยในการแข่งขันจะมีผู้ช่วยกรรมการ 2 คน ซึ่งผู้เล่นจะไม่สามารถคัดค้านกรรมการได้ในเวลาเล่นเพราะตัดสินไปแล้วจะไม่สามารถแก้ได้(ไม่จริง)

[แก้]สนามฟุตบอล

สนามฟุตบอลและขนาดมาตรฐาน

สนามฟุตบอลมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวระหว่าง 100-110 เมตร และความกว้างระหว่าง 64-75 เมตร โดยเส้นขอบสนามของด้านยาวจะเรียกว่า "เส้นข้าง" ขณะที่ขอบสนามของด้านกว้างจะเรียกว่า "เส้นประตู" โดยคานประตูจะตั้งอยู่กึ่งกลางบนเส้นประตู โดยมีความสูง 2.44 เมตร (8 ฟุต) เหนือจากพื้นดิน และเสาประตูจะห่างกัน 7.3 เมตร (8 หลา) เสาและคานประตูจะต้องมีสีขาว ตาข่ายจะมีการขึงด้านหลังประตู แต่อย่างไรก็ตามตาข่ายประตูไม่ได้มีกำหนดไว้ในกติกาสากล

ด้านหน้าประตูจะเป็นบริเวณเขตโทษซึ่งแสดงถึงบริเวณที่ผู้รักษาประตูสามารถถือบอลได้ และยังคงใช้ในการเตะลูกโทษ

[แก้]ระยะเวลาการแข่งขัน

การแข่งขันจะแบ่งออกเป็นสองครึ่ง โดยครึ่งละ 45 นาที โดยเวลาการแข่งขันจะมีการนับตลอดเวลา แม้ว่าฟุตบอลจะถูกเตะออกนอกสนามและกรรมการสั่งให้หยุดเล่นก็ตาม ระหว่างครึ่งจะมีเวลาพักให้ 15 นาที กรรมการจะเป็นคนควบคุมเวลา และจะทำการทดเวลาบาดเจ็บในช่วงท้ายของแต่ละครึ่งเพื่อทดแทนเวลาที่เสียไป ระหว่างการเล่น โดยเมื่อจบการแข่งขันกรรมการจะทำการเป่านกหวีดเพื่อหยุดการแข่งขัน

ในการแข่งขันแบบลีกจะมีการจบการแข่งขันสำหรับผลเสมอ แต่สำหรับการแข่งขันที่ต้องรู้ผลแพ้ชนะจะมีการต่อเวลาพิเศษ(ง่ายๆคือการแข่งชิงถ้วย) ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที โดยถ้าคะแนนยังคงเสมอกันจะมีการให้เตะลูกโทษ (ด้านการเตะลูกโทษมีคนวิจัยมาว่าทีมไหนเตะก่อนจะมีเปอร์เซนต์การชนะมากกว่าทีมที่เตะทีหลัง)

ไอเอฟเอบีได้ทดลองการกำหนดรูปแบบการทำคะแนนในช่วงต่อเวลาที่เรียกว่าโกลเดนโกลโดยทีมที่ทำประตูได้ก่อนในช่วงต่อเวลาจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน และซิลเวอร์โกลโดยทีมที่ทำประตูนำเมื่อจบครึ่งเวลาแรกจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน โดยโกลเดนโกลได้ถูกนำมาใช้ในฟุตบอลโลก 1998และฟุตบอลโลก 2002โดยมีการใช้ครั้งแรกในการแข่งขันทีมชาติฝรั่งเศสชนะปารากวัยในปี 1998 ขณะที่ซิลเวอร์โกลได้มีการใช้ครั้งแรกในฟุตบอลยูโร 2004 ซึ่งปัจจุบันโกลเดนโกล และซิลเวอร์โกลไม่มีการใช้แล้ว

[แก้]การแข่งขันระหว่างประเทศ

[แก้]ทีมชาติ

การแข่งขันฟุตบอลในระดับโลกนั้น มีการแข่งขันสูงสุดคือฟุตบอลโลกที่จัดขึ้นทุก 4 ปี ซึ่งทีมที่ร่วมเล่นจะเป็นทีมชาติจากแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกของฟีฟ่าโดยแต่ละทีมจำเป็นต้องผ่านรอบคัดเลือก ของทางสมาพันธ์ เพื่อมีสิทธิเข้าร่วมเล่น โดยในแต่ละสมาพันธ์จะมีจำกัดจำนวนทีมที่ร่วมเล่นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผลงานของแต่ละทีมในอดีต โดยทางฟีฟ่าจะเป็นทางกำหนด และนอกจากฟุตบอลโลกแล้ว ในแต่ละสมาพันธ์จะมีการแข่งขันสูงสุดของแต่ละสมาพันธ์เอง ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปี โดยผู้ชนะจากแต่ละสมาพันธ์จะทำการแข่งขันกันในคอนเฟเดอเรชันส์คัพพร้อมกับทีมที่ชนะเลิศในฟุตบอลโลกครั้งล่าสุด

นอกเหนือจากการแข่งขันที่จัดโดยฟีฟ่า การแข่งขันฟุตบอลทีมชาติที่เป็นที่จับตามองได้แก่การแข่งขันฟุตบอลในกีฬาระหว่างประเทศ เช่นโอลิมปิก(ทั่วโลก)เอเชียนเกมส์(ทวีปเอเชีย) หรือซีเกมส์(เฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

ภูมิภาคเอเชียแอฟริกาอเมริกาเหนือและกลางอเมริกาใต้ออสเตรเลียยุโรป
สมาพันธ์ เอเอฟซี ซีเอเอฟ คอนแคแคฟ คอนเมบอล โอเอฟซี ยูฟ่า
AFC CAF CONCACAF CONMEBOL OFC UEFA
การแข่งขันสูงสุด เอเชียนคัพ แอฟริกันคัพ โกลด์คัพ โคปาอเมริกา เนชันส์คัพ ฟุตบอลยูฟ่ายูโร
ระดับโลก คอนเฟเดอเรชันส์คัพ

[แก้]ทีมสโมสร

สำหรับทีมสโมสรนั้น ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันในประเทศ มีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันในระดับสมาพันธ์ที่มีการจัดขึ้นทุกปี (บางสมาพันธ์จะให้ทีมรองชนะเลิศร่วมด้วย) โดยทีมที่ชนะเลิศในแต่ละสมาพันธ์ จะมาแข่งขันกันในระดับโลก ในการแข่งขันฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพซึ่งจัดขึ้นทุกปี

ภูมิภาคเอเชียแอฟริกาอเมริกาเหนือและกลางอเมริกาใต้ออสเตรเลียยุโรป
สมาพันธ์ เอเอฟซี ซีเอเอฟ คอนแคแคฟ คอนเมบอล โอเอฟซี ยูฟ่า
AFC CAF CONCACAF CONMEBOL OFC UEFA
การแข่งขัน
ระดับสมาพันธ์
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ซีเอเอฟแชมเปียนส์ลีก คอนแคแคฟแชมเปียนส์คัพ โคปาลิเบอร์ตาโดเรส โอเชียเนียคลับแชมเปียนชิพ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ระดับโลก ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ

[แก้]ฟุตบอลในประเทศไทย

ดูบทความหลักที่ ฟุตบอลในประเทศไทย

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย แต่ฟุตบอลทีมชาติไทยเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จได้แค่ในระดับอาเชียนและได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007ในขณะเดียวกันในปัจจุบันมีการจัดลีกฟุตบอลอยู่สองลีกคือไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกบริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยและโปรลีกบริหารโดยการกีฬาแห่งประเทศไทยและลีกรองดิวิชัน 1 ของแต่ละส่วน ประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ.2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากAFC ตั้งกฏข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองกรณ์ รัฐวิสาหกิจ ปรับจัวไม่ได้ จึงต้องมีการยิบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2009 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อยๆพัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะเพียง2ปีเท่านั้นแฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ดิวิชั่น1 และดิวิชั่น2 มากขึ้นนั่นเอง

ฟุตบอลเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5ในปีพ.ศ. 2440และไทยร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่าเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า

[แก้]


Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  5,305
Today:  3
PageView/Month:  3

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com